ค้นหาคำศัพท์แบบเร่งด่วน


 

  • ความหมายของคำว่า ' สาร ๓ '

    สาร ๓  หมายถึง น. ช้างใหญ่ ใช้ว่า ช้างสาร.

advertisement

 

คำที่ใกล้เคียงกัน

  • สาร ๔

    น. ข้าวที่สีหรือตําเอาเปลือกออกแล้ว เรียกว่า ข้าวสาร.

  • สาร– ๒

    [สาระ–] คําประกอบหน้าคํา แปลว่า ทั้งหมด, ทั้งสิ้น, ทุก,เช่น สารทิศ ว่า ทุกทิศ, สารทุกข์ ว่า ทุกข์ทั้งหมด, สารเลวว่า เลวทั้งสิ้น. (เลือนมาจาก สรฺว ในสันสกฤต เช่น สรฺวงฺคเป็น สารพางค์ หรือ สรรพางค์).

  • สารทุกข์สุกดิบ

    (ปาก) น. ข่าวคราวความเป็นไปหรือความเป็นอยู่ เช่นไม่พบกันมานาน เพื่อน ๆ ต่างก็ถามสารทุกข์สุกดิบซึ่งกันและกัน.

  • สารถี

    [สาระถี] น. คนขับรถ, คนบังคับม้า, โดยปริยายหมายความว่าผู้บังคับหรือฝึกหัด ในความว่า พระพุทธเจ้าทรงเป็นสารถีฝึกบุรุษที่ควรฝึก. (ป., ส. สารถิ).

  • สารถีชักรถ

    น. ชื่อเพลงไทย ๒ ชั้นทำนองหนึ่ง ต่อมามีผู้แต่งขยายเป็น ๓ชั้น แล้วตัดลงเป็นชั้นเดียว เพื่อให้ครบเป็นเพลงเถา เรียกว่าเพลงสารถีเถา; วิธีรำละครท่าหนึ่งอยู่ในอันดับว่า สารถีชักรถกลดพระสุเมรุ ตระเวนเวหา; ชื่อเพลงยาวกลบทแบบหนึ่งตัวอย่างว่า สงสารกายหมายมิตร์คิดสงสาร ประมาณจิตร์ผิดเพราะเชื่อเหลือประมาณ เสียดายการที่คิดเปล่าเศร้าเสียดาย. (จารึกวัดโพธิ์).

  • สารท ๑

    [สาด] น. เทศกาลทำบุญในวันสิ้นเดือน ๑๐ โดยนำพืชพรรณธัญญาหารแรกเก็บเกี่ยวมาปรุงเป็นข้าวทิพย์และข้าวมธุปายาสถวายพระสงฆ์. (ป. สรท, สารท; ส. ศารท).

  • สารท ๒, สารทฤดู

    [สาด, สาระทะรึดู] น. ฤดูใบไม้ร่วง, ในประเทศเขตอบอุ่นทางซีกโลกเหนือ ซึ่งแบ่งฤดูกาลออกเป็น ๔ ฤดู คือ ฤดูหนาว(เหมันตฤดู) ฤดูใบไม้ผลิ (วสันตฤดู) ฤดูร้อน (คิมหันตฤดู)และฤดูใบไม้ร่วง (สารทฤดู) นั้น ฤดูใบไม้ร่วงเริ่มต้นในเดือนกันยายนถึงเดือนพฤศจิกายน. (อ. autumn).

 


พจนานุกรมไทย-ไทย ออนไลน์

จุดประสงค์ของเว็บ เพื่อสนับสนุนการใช้ภาษาไทยให้ถูกต้องตามความหมายของแต่ละคำ ขอบคุณข้อมูลจาก พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒